20 ไอเดีย จัดองค์ประกอบ ภาพอย่างเซียนที่ ‘มือใหม่’ ก็ทำได้:ตอนที่ 1

มีทั้งหมด 4 ตอนค่ะ

ไม่มีกฏที่ไม่สามารถหักได้เมื่อมาถึงเรื่องที่ว่าคุณจะ จัดองค์ประกอบ ภาพถ่ายและภาพวาดคุณอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นใครชอบกฏกันหละ นอกจากอาจารย์ใหญ่หรือไม่ก็หัวหน้าแผนก H.R  อย่างไรก็ตามยังมีไกด์ไลน์หลายๆอันที่คุณสามารถใช้ในการปรับปรุงการจัดองค์ประกอบ ของภาพถ่ายหรือภาพวาดคุณได้(ทั้งสองอันใช้หลักการใกล้เคียงกัน)

ใน tutorial นี้เราได้ลิสต์ 20 ไกด์ไลน์ที่มากับตัวอย่างในแต่ละอัน เราเริ่มจาก อันที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วก็จบด้วยอันที่มีเทคนิคการจัดองค์ประกอบที่ความซับซ้อนมากกว่า

อย่างแรกก็คือ เราต้องจำกัดความว่าอะไรหมายความถึงการจัดองค์ประกอบ การจัดองค์ประกอบอ้างอิงถึงวิธีการที่องค์ประกอบหลายอย่างในฉากนั้นถูกจัดวางภายในกรอบ อย่างที่เราเคยกล่าวไว้ว่านี่ไมใช่กฏแต่เป็นไกด์ไลน์ ที่พูดว่าหลายๆอันนั้นใช้ในงานศิลปะมานานนับพันปีแล้วและมันช่วยในการจัดองค์ประกอบที่น่าดึงดูด เราพบว่าเรามักจะมีไกด์ไลน์เหล่านี้มากกว่าหนึ่งอันเวลาที่เราได้วาดภาพประกอบหรือถ่ายรูป

เราจะเริ่มจากการจัดองค์ประกอบที่เป็นที่รู้จักที่สุด ได้แก่ กฏสามส่วน

1. จัดองค์ประกอบ แบบ กฏสามส่วน

ดังนั้นเราจะบอกคุณว่าไม่มีกฏที่เร็วและเข้มงวดเมื่อพูดถึงการจัดองค์ประกอบ และสิ่งที่รวดเร็วที่เราพูดถึงนั้นก็คือ”กฏ”สามส่วน เราไม่ได้เป็นคนคิดชื่อ กฏสามส่วนนั้นมันง่ายมาก คุณแค่แบ่งกรอบเป็นเก้าส่วน สามส่วนแนวตั้งและสามส่วนแนวนอน อย่างที่มีภาพประกอบด้านล่าง โรงงานผลิตกล้องหลายโรงงานนั้นรวมความสามารถที่จะแสดงกริดนี้ในโหมด live view เช็คคู่มือของกล้องของคุณว่าทำอย่างไรถึงจะเปิด feature นี้ได้

แนวความคิดก็คือการวางองค์ประกอบที่สำคัญไปตามแนวเส้นหรือบริเวณที่เส้นนั้นตัดกัน(มีสี่จุด) เรานั้นมีแนวโน้มที่จะวางองค์ประกอบไว้บริเวณกึ่งกลางของรูป วางไว้ห่างจากตรงกลางไว้โดยการใช้กฏสามส่วนนั้นมักจะนำสายตาไปให้เกิดการจัดองค์ประกอบที่น่าพึงพอใจ

ในรูปถ่ายนี้ ผู้ถ่ายรูปนี้ได้วางองค์ประกอบในแนวนอนไปตามแนวของส่วนที่สามของกรอบและต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดและใกล้ที่สุดไปตามเส้นทางขวา รูปถ่ายนั้นจะไม่มีความ impact ในระดับเดียวกันถ้าต้นไม้ทีใหญ่กว่านั้นอยู่บริเวณกึ่งกลางของกรอบ

การจัดจะวางแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้

ในรูปถ่ายจตุรัสเก่าของปราก ผู้ถ่ายรูปนี้ได้วางเส้นระดับสายตาไว้ที่ระดับบนของสามส่วน ตึกส่วนใหญ่นั้นอยู่ในส่วนกลางของสามส่วนและจตุรัสได้ครอบคลุมบริเวณครึ่งล่างของสามส่วน ตัวยอดโบสต์นั้นอยู่ในเส้นใกล้กับระดับสายตาทางขวาของกรอบ

2.การจัดวางแบบกึ่งกลางและแบบสมมาตร

เมื่อกี้เราได้บอกคุณว่า อย่าวางซับเจคหรือหัวข้อหลักไว้ตรงกลางของกรอบ  แต่เราจะบอกให้คุณทำในสิ่งตรงกันข้าม มีเวลาบางเวลาที่การวางซับเจคตรงกลางนั้นดูดี ฉากแบบสมมาตรนั้นเหมาะกับการ จัดองค์ประกอบ แบบตรงกลาง มันใช้ได้กับกรอบสี่เหลี่ยมด้วยเช่นกัน(เช่นการถ่ายรูปลง instagram)

รูปถ่ายนี้เป็นรูปของสะพานฮาเพ็นนี่ในบ้านเกิดของผู้ถ่ายรูปในเมืองดับบลิน เป็นการแสดงอย่างดีของการจัดวางแบบกึ่งกลาง สถาปัตยกรรมและถนนมักจะเป็น subject ที่ดีในการจัดวางองค์ประกอบแบบกึ่งกลาง

ฉากที่มีเงานั้นเป็นโอกาสที่ดีในการใช้ความสมมาตรในการจัดองค์ประกอบ ในรูปถ่ายนี้ ผู้ถ่ายได้ใช้การผสมระหว่างกฏสามส่วนและสมมาตรเพื่อจะสร้างองค์ประกอบของฉาก ต้นไม้ได้วางไว้ออกไปจากกึ่งกลางไปทางขวาของกรอบ แต่ว่าน้ำนิ่งๆของทะเลสาปสร้างให้เกิดความสมมาตร คุณสามารถใช้ไกด์ไลน์เหล่านี้หลายๆอันในภาพเดียวได้

4.ฉากหน้าและความลึก

มีฉากหน้าในภาพนั้นทำให้เกิดความลึกในฉาก การถ่ายภาพนั้นเป็นสองมิติโดยธรรมชาติ การใช้ฉากหน้าในกรอบนั้นเป็นเทคนิคของภาพที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนสามมิติมากขึ้น

มีการไล่ระดับระหว่างนกยูงสองตัว และฉากหลังทำให้ฉากหลังนั้นอยู่ลึกเข้าไป โดยการเล่นระดับของระดับต้นไม้และระดับของตัวนกยูง

การไล่สีที่มีการจางลงตามความลึก

น้ำหนักสีที่ไม่เท่ากันระหว่างฉากหน้า กลาง และหลัง ทำให้เกิดความลึกลงไปในภาพ มีการจัดการน้ำหนักสีที่ดี

5.Leading line,เส้นนำสายตา

เส้นนำสายตานั้นนำสายตาของผู้ดูตลอดทั้งภาพ และโฟกัสไปยังองค์ประกอบที่สำคัญ อะไรก็ตามจากเส้น กำแพง หรือแพทเทิร์นนั้นสามารถเป็นเส้นนำสายตาได้ ดูตัวอย่างด้านล่าง

https://www.artstation.com/artwork/zoZKQ

ในภาพถ่ายของหอไอเฟลนี้ ผู้ถ่ายได้ใช้แพทเทิร์นของหินปูพื้นเป็นเส้นนำสายตา เส้นบนพื้นนั้นนำสายตาไปสู่สายตาผู้ชมยังหอไอเฟลในระยะห่างออกไป คุณอาจจะสังเกตุว่าผู้ถ่ายรูปนี้ได้ใช้การจัดวางองค์ประกอบแบบกึ่งกลาง ความสมมาตรของสิ่งแวดล้อมทำให้การจัดองค์ประกอบแบบนี้ได้ผล

เส้นนำสายตาไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเท่านั้น ตัวอย่างอยู่ในรูปนี้ ในความเป็นจริงเส้นโค้งนั้นก็สามารถสร้างให้เกิดองค์ประกอบที่สมบูรณ์ภายในภาพได้ ในกรณีนี้ เส้นนำสายตาของผู้ชมไปยังด้านขวาของกรอบก่อนที่จะบิดตัวไปยังด้านซ้ายไปทางต้นไม้ ผู้ถ่ายรูปนี้ยังได้ใช้กฏสามส่วนในการสร้างองค์ประกอบขึ้นมา

https://medium.muz.li/?gi=d2a606deafc3

http://abduzeedo.com/daily-inspiration-2079?utm_content=buffera5079&utm_medium=social&utm_source=pinterest.com&utm_campaign=buffer

เส้นนำสายตาเป็นเส้นโค้งยึกยักเข้าสู่จุดสนใจ

ตัวสะพานและเสาเป็นเส้นนำสายตาไปสู่จุดสนใจคือบ้าน

อ้างอิง

20 Composition Techniques That Will Improve Your Photos

#นกเขยนการตน #สอนวาดการตน #เรยนวาดรป #เรยนวาดภาพ #การจดองคประกอบ #สอนdigitalpainting #สอนวาดภาพ #นกวาดภาพประกอบ #สอนวาดรป #เรยนวาดการตน #เรยนdigitalpainting


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Create a website or blog at WordPress.com