ข้อเสียของการเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์มา…

หลายคนคงจะรู้ว่าเราพยายามผสมความเป็นสถาปัตยกรรมศาสตร์ของเรากับงานมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรมีกระทั่งช่วงหนึ่งที่เราพยายามเอาแปลนของสถาปัตยกรรมศาสตร์มาใส่ในผลงานว่าซึ่งเราเอาไปให้อาจารย์ฟูที่ท่านจบ Land Harvardดูอาจารย์ท่านให้คำแนะนำว่าการใส่แปลนลงไปโดยตรงมันเป็นการใส่โดยที่คำนึงถึงผิวงานเฉยๆและไม่ได้ relate อะไรกับตัวงานมันเหมือนเป็น pattern แบบหนึ่งซึ่งไม่ได้มีความเข้าใจอะไร

เราว่าข้อเสียของการเรียนขณะนี้จะเป็นการที่คณะนี้ทำให้เกิดฟิลเตอร์บางอย่าง คงจะเหมือนกับคนที่เรียนแฟชั่นมาแล้วรู้ว่าใครแต่งตัว’เชย’หรือแต่งตัว’เพี้ยน’ แต่งตัวพลาดมันจะมีฟิลเตอร์บางอย่างที่รู้เลยว่าคนนี้วาดฉากโดยที่ใช้ reference เฉยๆไม่ได้มีการออกแบบหรือดีไซน์อะไรเพิ่มเติมและไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องนี้วาดตาม ref ซึ่งจริงๆมันก็ยากที่จะเข้าใจเรื่องนี้แหละ…มันก็ไม่ได้ผิดด้วยที่จะวาดตาม ref เฉยๆ

จริงๆตอนหลังๆเนี่ยเราก็พยายามจะเอาฟิลเตอร์นี้ออกเหมือนกันเราอยากจะมองคนที่ความเข้าใจตัวเขาและรากของเขาอย่างแท้จริง

ข้อเสียก็คือมันจะทำให้เรารู้สึกชินชากับเรื่องนี้และไม่อยากวาดฉากหลังเอะอะอะไรก็ยัดให้ภาพเต็มเป็นสิ่งที่สิ้นคิด

เพราะเรารู้สึกว่าการวาดฉากหลังเป็นสิ่งที่แกนเกินไปและไม่ได้มีความเข้าใจว่าอะไรคือแก่นแท้ของสิ่งที่ได้จากการศึกษาที่แท้จริง อะไรคือแก่นของสถาปัตยกรรมศาสตร์บอกได้เลยว่ามันคือเรื่องของ ‘space’ใส่ฟังก์ชั่นใส่เวลาใส่สถานที่และใส่มิติเข้าไปมันก็จะกลายเป็นสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สมบูรณ์

ถามว่าเราเรียนภูมิสถาปนิกมาภูมิสถาปนิกที่เราชอบมีอยู่ 2 คนด้วยกันก็คือ

1.Dan Kiley

2.Peter Walkers

ลักษณะงานของทั้งสองคนจะเป็นการผสมเอางานอาร์ตเข้าไปยังงาน landscape

งานของทั้งสองคนมีความ timeless หรือว่ามีความอยู่เหนือกาลเวลาอยู่หรือแม้กระทั่งเซ็นทรัลปาร์คก็ตามความที่ทุกมุมออกแบบให้ดูเหมือนเป็นภาพวาดตลอดนั่นเป็นสิ่งที่ดูมหัศจรรย์ที่สุด

สำหรับสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็คงไม่มีใครเกิน Zaha Hadid สำหรับเรานะอีกคนก็ Norman Foster จะชอบสถาปัตยกรรมที่ดูล้ำๆอนาคต

บางคนก็ยังดูอะไรที่ค่อนข้างจะตื้นเขินมากเช่นเรียนภูมิสถาปัตยกรรมมาทำไมไม่ใส่ต้นไม้ลงไปในงานทำไมไม่ใส่ฉากไม่ใส่ landscape ลงไปในงาน?

คุณลองดูคาแรคเตอร์ของเราดีๆ landscape มันอยู่บนหัวคาแรคเตอร์เลยมันอยู่บน element ที่อยู่บนหัวบนตัวคาแรคเตอร์ทุก element ที่ใส่เข้าไปมันคือการจัดวางลักษณะคล้ายกับการจัดภูมิทัศน์ไม่ต้องเป็นต้นไม้และไม่ต้องปลูกบนดิน

พูดง่ายๆคือสำหรับเรามนุษย์คือ architecture แบบนึง และ landscape ของมนุษย์สามารถเป็นได้ตั้งแต่หัวจดเท้าหรือพูดง่ายๆสำหรับเราใช้ร่างกาย และส่วนต่างๆมนุษย์ในการจัดภูมิทัศน์ไปเลยง่ายที่สุด


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Create a website or blog at WordPress.com