สถาปัตยกรรมศาสตร์ไม่ได้เรียนวาดฉาก และ’ภูมิสถาปัตยกรรม’ไม่ได้’เรียนจัดสวน’

ก่อนนอนคืนนี้เขียนอีกบทความนึงนั่นก็คือเรื่องของเวลาที่เอาอะไรมาก็ตามมา apply ในงาน

‘เอาแก่นมาอย่าเอากระพี้หรือเอาเปลือกมา’

ยกตัวอย่างที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดนั่นก็คือ…

‘เรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องวาดฉากเก่ง’

ทำให้คนมองว่าเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์จะต้องว่าเป็นแต่ฉากและจะต้องวาดฉากได้

no

ไม่ใช่นะคะสถาปัตยกรรมศาสตร์ไม่ได้เรียนวาดฉาก

และ’ภูมิสถาปัตยกรรม’ไม่ได้’เรียนจัดสวน’ เราคือนักออกแบบ

บอกเลยว่าถ้าเราไม่ผ่านการเรียน landscape architect มาเราคงวาดได้ไม่แบบนี้แน่นอนทุกเส้นที่เราดีไซน์มันคือเส้นของการดีไซน์แปลน/รูปด้าน/รูปตัดของ landscape architect ทั้งสิ้น

เรียนคณะนี้จริงๆได้อะไรหลายๆอย่างมากๆนั่นก็คือการคำนึงถึงฟังก์ชันจริงๆในการทำงานไม่ใช่สักแต่ว่ายัดอะไรก็ตามที่สวยเข้าไปภายในภาพแล้วต้องการจะทำให้มันเกิด

อันนี้เป็นความเข้าใจผิดเบื้องต้นของคนทั่วไปรวมทั้งเราตอนก่อนจะเข้าคณะนี้

แต่ความคิดเราเปลี่ยนไปเมื่อเราเข้าไปถึงคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แล้วอาจารย์ได้ถามเราคำถามหนึ่งที่เรายังจำได้อยู่ทุกวันนี้นั่นก็คือ

‘ทำไมคุณเลือกภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม’

บอกได้เลยว่าคำตอบนี้เราตอบไม่ได้ตอนนั้นเราตอบได้แค่ว่าเราชอบต้นไม้และเรียนสายวิทย์มาจำเป็นต้องเลือกสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็เลยเลือก landscape เขาก็เลยตอบอาจารย์ไว้ว่าก็หนูแค่ชอบสวนสาธารณะหนูแค่ชอบต้นไม้แล้วหนูก็อยากเห็นงานตัวเองออกมาเป็นสามมิติที่ตัวเองได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น

แต่ในวันนี้เราตอบได้แล้วนั่นก็คือการที่เราเลือก landscape มันทำให้บทบาทในการเป็นดีไซเนอร์หรือคาแรคเตอร์ดีไซเนอร์ของเราในวันนั้นสมบูรณ์

ทำให้มุมมองของเราในการเป็นนักออกแบบคาแรคเตอร์มีมุมมองที่แตกต่างออกไป

ก็คือเรามองว่าทุกส่วนของคาแรคเตอร์คือ’สถาปัตยกรรม’

ไม่ว่าจะเป็นมือแขนขากระดูกหรือว่าหัวหรือแม้กระทั่งผมเราก็เลยพยายาม’ออกแบบภูมิทัศน์รอบๆทุกส่วนของคาแรคเตอร์ไม่จำเป็นที่จะไปแตะต้นไม้หรือสถาปัตยกรรมจริงๆด้วยซ้ำเราไม่ได้มองว่าจะต้องวาดฉากและอัดต้นไม้เข้าไปเพื่อให้รู้ว่าเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมมา

และพอร์ตงานของเราเข้าตาบริษัทต่างชาติและเราก็ได้ไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์เนื่องจาก port character เราแข็งมากตอนนั้น

แน่นอนว่าหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าปริมาณที่เราทำงานสมัยทำงานประจำมันเยอะแค่ไหนและมีความหลากหลายมากน้อยแค่ไหนเนื่องจากงานบางส่วนแล้วไม่ได้เผยแพร่ออกสาธารณะเลยนั่นก็คือเป็น tip of the iceberg ของจริง

ที่เราไปเราได้ไปทำงานเพ้นท์ส่วนใหญ่ซึ่งมันส่งเสริมสกิลซึ่งกันและกันนั่น

ก็คือสมองและกล้ามเนื้อนะคะ

ลองถามตัวเองนะว่าตัวเองใช้มันสมองหรือเปล่าในการทำงานพยายามใช้สมองในการทำงานให้มากแล้วเราจะได้ใช้กล้ามเนื้อในการทำงานน้อยลงและประหยัดแรงนะคะประหยัดทรัพยากร


Posted

in

by

Tags:

Comments

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Create a website or blog at WordPress.com